วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

(นารทชาดก)

นารทชาดก
ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
เรื่องย่อ นารถชาดก

นารทชาดก ในเรื่องนี้พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวหมาพรหม นามว่า พระนารทะ ได้จำแลงกายเป็นนักบวชมาแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนพระเจ้าอังคติกษัตริย์นครมิถิลา ที่เคยปกครองบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทรงศีลอุโบสถตลอดมา จนวันหนึ่งได้สนทนาธรรมกับนักบวชชีเปลือยคุณาชีวกะ ทำให้เกิดหลงผิด ละเว้นการรักษาศีลทำทานเสียสิ้น หันมาโปรดปรานมหรสพรื่นเริง ไม่สนใจกิจการของบ้านเมือง


จนเมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระนารทะมหาพรหม ว่าการกระทำสิ่งใดควรมีอุเบกขา คือการวางใจเป็นกลาง ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อเห็นว่าสิ่งใดดีมีประโยชน์จึงเชื่อและปฏิบัติตาม พระเจ้าอังคติจึงกลับมาตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดังเดิม บารมีประจำเรื่องนี้ก็คือ "อุเบกขาบารมี" 

เรื่องพระพรหมมนารท หรือตามชาวบ้านเรียกกันว่า 
พรหมนารท จัดเป็นชาติที่ ๘ ในจำนวนสิบชาติ และในชาตินี้

            ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ คือความถูกต้อง เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ ท้าวเธอมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้ท้าวเธอจะมีสนมกำนันจำนวนเป็นร้อยเป้นพัน พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ 3 คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ 
เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ ในในปีหนึ่ง อันเป็นฤดูกาลที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ พระจันทร์เต็มดวงลอยในท้องฟ้าน้ำเปี่ยมตลิ่งใสซึ่งลงไป พันธุ์ผักน้ำ สายบัวก็ชูช่อดอกดอกสะพรั่งไปทั้งสองฟากน้ำ แลดูเป็นเครื่องเจริญตายามเมื่อแลดูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร

4 ความคิดเห็น: