วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิวรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ

    ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง 

เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัยนับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นวรรณคดีไทยที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน เพราะได้รวบรวมเอาคติความเชื่อทุกแง่ทุกมุมของทุกชนชั้นหลายเผ่าพันธุ์มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านผู้ฟังยำเกรงในการกระทำบาปทุจริต และเกิดความปิติยินดีในการทำบุญทำกุศล อาจหาญมุ่งมั่นในการกระทำคุณงามความดี
           พระมหาธรรมราชาลิไทย มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาอนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน
           ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ พระยาลิไทย อุปราชผู้ครองนครศรีสัชนาลัย ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้น มีสาระสำคัญ คือ ทรงพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 31 คือ กามภูมิ11, รูปภูมิ16 และอรูปภูมิ4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้รวมเรียกว่าเขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า มหานทีสีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล

                    ทศชาติชาดก



วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

(คำถาม 10 ข้อ)

(1).เตมิยชาดกเป็นชาติที่เท่าไหร่ในทศชาติชาดก
ตอบ ชาติที่ 1.
(2)."พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน" ข้อความดังกล่าวอยู่ในทศชาติชาดกเรื่องใด
ตอบ   เรื่องชนกชาดก

(นารทชาดก)

นารทชาดก
ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
เรื่องย่อ นารถชาดก

นารทชาดก ในเรื่องนี้พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวหมาพรหม นามว่า พระนารทะ ได้จำแลงกายเป็นนักบวชมาแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนพระเจ้าอังคติกษัตริย์นครมิถิลา ที่เคยปกครองบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทรงศีลอุโบสถตลอดมา จนวันหนึ่งได้สนทนาธรรมกับนักบวชชีเปลือยคุณาชีวกะ ทำให้เกิดหลงผิด ละเว้นการรักษาศีลทำทานเสียสิ้น หันมาโปรดปรานมหรสพรื่นเริง ไม่สนใจกิจการของบ้านเมือง


จนเมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระนารทะมหาพรหม ว่าการกระทำสิ่งใดควรมีอุเบกขา คือการวางใจเป็นกลาง ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อเห็นว่าสิ่งใดดีมีประโยชน์จึงเชื่อและปฏิบัติตาม พระเจ้าอังคติจึงกลับมาตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดังเดิม บารมีประจำเรื่องนี้ก็คือ "อุเบกขาบารมี" 

เรื่องพระพรหมมนารท หรือตามชาวบ้านเรียกกันว่า 
พรหมนารท จัดเป็นชาติที่ ๘ ในจำนวนสิบชาติ และในชาตินี้

            ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ คือความถูกต้อง เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ ท้าวเธอมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้ท้าวเธอจะมีสนมกำนันจำนวนเป็นร้อยเป้นพัน พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ 3 คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ 
เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ ในในปีหนึ่ง อันเป็นฤดูกาลที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ พระจันทร์เต็มดวงลอยในท้องฟ้าน้ำเปี่ยมตลิ่งใสซึ่งลงไป พันธุ์ผักน้ำ สายบัวก็ชูช่อดอกดอกสะพรั่งไปทั้งสองฟากน้ำ แลดูเป็นเครื่องเจริญตายามเมื่อแลดูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร

(วิทูรชาดก)

วิทูรชาดก
ชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
เรื่องย่อ วิทูรชาดก
มีเรื่องเล่าว่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
    ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา.
    แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่.


  พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงพระปรารภปัญญาบารมีจึงได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.


ความพิศดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน ที่โรงธรรมสภาว่าดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ พระศาสดา ทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาเร็วไว มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาเฉียบแหลม มีพระปัญญาปรุโปร่ง ทรงย่ำยีถ้อยคำกล่าวร้ายของคนอื่น ทรงทำลายปัญหาอันละเอียด ที่กษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้นแต่งขึ้นได้ด้วยอานุภาพแห่งพระปัญญาของพระองค์ ทรงทรมานให้หมดพยศ แล้วให้ตั้งอยู่ในสรณะ และศีล และให้ดำเนินไปตามหนทางอันจะนำสัตว์ไป สู่อมตมหานิพพานพร
พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะครองเมืองอินทปัตย์แคว้นกุรุวันหนึ่งพระองค์ทรงแสวงหาความ สงบสุขในมิคาชินอุทยานพระองค์ได้ พบแปลง 3 คน คือ ท้าวสักกะ พญาครุฑ พญานาค คนทั้ง 4 หาที่วิเวกรักษาอุโบสถศีล เมื่อ
ได้พบกันถูกชะตากัน เพราะเคยเป็นเพื่อน กันมาแต่อดีตชาติ พระองค์ได้สนทนากันว่า ใครรักษาศีลได้ดีกว่ากัน เมื่อตกลงกันไม่ได้ พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะจึงพาชายแปลงทั้ง 3 คนมาหาวิธูรบัณฑิต ซึ่งเป็นบัณฑิตประจำราช
สำนัก วิธูรบัณฑิตวินิจฉัยให้ทั้ง 4 พระองค์ ทำความดีสนับสนุนศีลให้สมบูรณ์เสมอกัน ถ้ามีพร้อมใหนบุคคลใด ก็เป็นเหมือนกำเกวียนที่รวมมั่นอยู่ในดุมเกวียน จะทำให้สงบระงับบาปได้ 

(เวสสันดรชาดก)

เวสสันดรชาดก
ชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หอเรื่องพระเวสสันดร
เรื่องย่อ เวสสันดรชาดก
เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ"

              พระเวสสันดรเป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี ได้อภิเษกสมรสกับ
พระนางมัทรีเจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ ชาลีกุมาร และกัณหากุมารี

              พระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” คือให้ของอย่างละ 700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700 จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่ โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัทรี

               ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร กับกัณหากุมารีพระเวสสันดรก็ได้ยกให้โดยตีราคาค่าตัวสองกุมารีว่ามีราคาค่าไถ่ตัว
เป้นทองคำพันลิ่ม (ก้อน) พร้อมทั้งทาสีหนึ่งร้อย ช้างหนึ่งร้อย ม้าหนึ่งร้อย โคอุสภราชหนึ่งร้อย และทองคำร้อยลิ่ม (ก้อน)พระอินทร์พอทราบเหตุนั้นก็เกรงว่าพระเวสสันดรจะยกพระนางมัทรีให้คนอื่นอีก จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาทูล
ขอพระนางมัทรีแล้วได้ถวายคืน เพื่อให้พระนางอยู่ปรนนิบัติพระสวามีพร้อมกับถวายพรแด่พระเวสสันดร


วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

(จันทชาดก)

จันจทชาดก
ชาติที่ 7 เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี

เรื่องย่อ จันจทชาดก






จันทกุมารชาดก เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น จันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราชแห่งกรุงบุปผวดี พระเจ้าเอกราชมีปุโรหิตราชครูเป็นพราหมณ์ชื่อ กัณฑหาละ ที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ชอบรับสินบนจึงวินิจฉัยคดีอย่างไม่ยุติธรรม ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว วันหนึ่งมีการร้องทุกข์ขึ้น พระจันทกุมารได้ตัดสินคดีใหม่ให้มีความยุติธรรม ผู้คนต่างสรรเสริญยินดี พระเจ้าเอกราชจึงตั้งให้จันทกุมารเป็นผู้วินิจฉัยคดีแทน พราหมณ์กัณฑหาละจึงโกรธแค้นผูกอาฆาตพยาบาท และได้ออกอุบายว่าถ้าพระเจ้าเอกราชอยากไปเกิดบนสวรรค์ ให้บูชาด้วยพระราชบุตร พระราชธิดา ช้าง ม้า วัว ควาย ให้ครบอย่างละสี่ พระเจ้าเอกราชหลงเชื่อจึงให้จัดพิธีบูชายัญ พระจันทกุมารต้องมีขันติอดทนต่อการถูกทารุณกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ จนพระนางจันทเทวีมเหสีของพระจันทกุมารต้องอธิษฐานขอให้เทพยด้ทั้งปวงช่วยเหลือ ด้วยแรงอธิษฐานพระอินทร์จึงมาช่วยให้พระเจ้าเอกราชล้มเลิการบูชายัญ พราหมณ์กัณฑหาละถูกประชาชนลงทัณฑ์จนตาย แม้พระเจ้าเอกราชประชาชนก็จะลงทัณฑ์ด้วย แต่พระจันทกุมารได้ขอชีวิตไว้ พระเจ้าเอกราชถูกขับออกจากเมือง พระจันทกุมารได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาจนตลอดพระชนมายุ บารมีประจำเรื่องนี้ คือ "ขันติบารมี" 

(ภูริทัตชาดก)

ภูริทัตชาดก 
ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
เรื่องย่อ ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี



  พระภูริทัต ภูริทัต   หรือ   “ภู”   ในคำย่อเป็นเรื่องของความอดทนซึ่งความลำบากตรากตรำด้วยประการทั้งปวง หากใครอดทนไว้ได้ ก็อาจสำเร็จผลที่ปรารถนาทั้งในปัจจุบันและภายหน้า หากเห็นว่าจะมีประโยชน์ จากการสดับเรื่องของการประพฤติปฎิบัติต่อไป ขอได้โปรดอ่านเรื่องต่อไปนี้
     สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่เมืองพาราณสีพระองค์มีพระโอรสพระองค์หนึ่งและทรงตั้งไว้ในตำเเหน่งอุปราช ภายหลังกลัวว่าอุปราชจะแย่งสมบัติ จึงระบุสั่งให้ออกท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ พร้อมกับสั่งว่า ถ้าพ่อสิ้นเมื่อไหร่ เจ้าจงกลับมาครองราชสมบัติ” ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ส่งไปเป็นทูต เพื่อความเหมาะสม หรือมิฉะนั้นก็ให้เดินทางไปเรื่อยเปื่อยใปในที่ต่างประเทศเพื่อผูกสัมพันธไมตรีจนกว่าจะมีตำแหน่งใหม่พระราชโอรสก็ค่อนข้างมักน้อยอยู่ จึงได้ออกท่องเที่ยวไปตามป่าเขาตามใจปรารถนา ตราบจนกระทั่งพบบรรณศาลาแห่งหนึ่ง อยู่ระหว่างภูเขาและติดกับริมฝั่งแม่น้ำยมนา จึงคิดจะพักผ่อนสงบสติอารมณ์อยู่ที่นั้น และเห็นว่าเป็นสภาพที่ดี มีความวิเวกปราศจากคนผ่านไปมา จึงตกลงใจพักอยู่ ณ บรรณซาลานั้น นางนาคตนหนึ่งปราศจากสามี เห็นคนอื่นเขามีคู่เคล้าเคลียทนอยู่ไม่ได้ ขืนอยู่เมืองบาดาลได้ตายกันไปบ้าง ไม่อยากเห็นเขารักกัน พราะเราไม่มีคนรักจึงหนีขึ้นมาท่องเที่ยงเสียในเมืองมนุษย์
     ถ้ามนุษย์เรามีความคิดเหมือนอย่านางนาคแล้ว เหตุฉกรรจ์ทั้งหลายคงจะไม่มี บางคนเห็นคนอื่นรักกันไม่เหมาะไม่สมด้วยประการทั้งปวง ทีตนเองบ้างยังไงก็ได้ เรื่องของฉันคนอื่นไม่เกี่ยว

(มโหสถชาดก)

มโหสถชาดก
ชาติที่ 5 เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
เรื่องย่อ มโหสถชาดก
ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลาขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถวิสัชนาปัญหาได้หมด พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตีกรุงมิถิลา แต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จ จนพระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไป แต่ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันทีหลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุขัย

(เนมิราชชาดก)

เนมิราชชาดก
ชาติที่ 4 เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี - เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
เรื่องย่อ เนมิราชชาดก
เนมิราชชาดก เป็นเรื่องราวที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช ครองนครมิถิลา เมื่อทรงพระเยาว์ก็สนพระทัยในการให้ทาน ถือศีลอุโบสถและปฏิบัติธรรม และอธิษฐานที่จะปฏิบัติเช่นนั้นเรื่อยมา เมื่อขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาที่ออกบรรพชาไปแล้ว ก็ได้สั่งสอนให้ประชาชนรักษาศีล ทำบุญทำทานทั่วราชอาณาเขต ผลแห่งการทำความดีนี้เป็นที่สรรเสริญทั่วทั้งสวรรค์ นรก และมนุษย์โลก
วันหนึ่งพระองค์ทรงเกิดความสงสัยว่า การถือศีลกับการให้ทาน อย่างไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากัน พระอินทร์ได้เสด็จมาทูลว่า การผลบุญของการถือศีลจะมีมากกว่าการให้ทาน แต่การกระทำทั้งสองประการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ขอให้พระองค์ทรงอุตสาหะหมั่นเพียรถือศีลและบริจาคทานไปพร้อมกันด้วย พระเจ้าเนมิราช จึงได้อบรมสั่งสอนให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินรักษาศีลโดยเคร่งครัด เมื่อบรรดาผู้คนเหล่านั้นตายไป ก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ต่างก็พากันสำนึกว่าเป็นเพราะพระเจ้าเนมิราชโดยแท้ จึงอยากกลับมาชมพระบารมีอีกครั้ง พระอินทร์จึงให้พระมาตุลีเทพบุตรนำราชรถมารับพระเจ้าเนมิราชขึ้นไปชมสวรรค์และนรก และเชิญให้เสวยสุขบนสวรรค์ แต่พระองค์ไม่รับ กลับมาครองเมืองมนุษย์และสั่งสอนให้ผู้คนประกอบแต่คุณความดีต่อไป เพื่อไม่ต้องตกนรก ในที่สุดพระองค์ก็สละราชสมบัติให้พระโอรส แล้วเสด็จออกบรรพชาที่ป่ามะม่วงจนสวรรคต บารมีในเรื่องนี้

(สุวรรณสามชาดก)


  สุวรรณสามชาดก
ชาติที่ 3 เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี - สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี
เรื่องย่อ สุวรรณสามชาดก
สุวรรณสามชาดก (อ่านว่า: สุ-วัน-นะ-สาม-ชา-ดก) เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติของพระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นสุวรรรณสามดาบส[1] ในการบำเพ็ญเมตตาบารมี[2] โดยสุวรรรณสามดาบสต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งพระเจ้ากบิลยักขราชแผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี[3]สุวรรณสามชาดก ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกขุททนิกายชาดก มหานิบาต และอรรถกถา ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรื่องสุวรรณสามขณะประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร อารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้ออุทยานพระกุมารพระนามว่าเชตสร้างถวาย พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้บิณฑบาตเลี้ยงบิดามารดา เพื่อจะยกย่องพระภิกษุผู้เลี้ยงดูบิดามารดาด้วยสิ่งของที่ชาวบ้านถวายว่าเป็นพระภิกษุยอดกตัญญู ให้เป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุทั้งปวง พระพุทธองค์จึงตรัสเรื่องราวในอดีตชาติของพระองค์

(ชนกชาดก)

ชนกชาดก
ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี
เรื่องย่อ ชนกชาดก
พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึง เมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลาในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
วันหนึ่ง พระมหาชนก ทรงประทับบนคอช้างเพื่อทอดพระเนตรอุทยาน ใกล้ประตูอุทยานมีมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน พระมหาชนกทรงเก็บมาเสวยผลหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าอุทยาน คนอื่นๆ ตั้งแต่พระอุปราชลงมาต่างก็แย่งเก็บผลมะม่วง จนมะม่วงต้นนั้นโค่นลง พระมหาชนกทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความสังเวชที่คนทั้งหลายหวังแต่ประโยชน์อย่างขาดปัญญา รำลึกได้ว่านางมณีเมขลาเคยสั่งให้พระองค์ตั้งมหาวิทยาลัย จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ในที่สุดได้ตั้งมหาวิชชาลัยปูทะเลย์ขึ้น โดยรำลึกว่าขณะที่ทรงว่ายน้ำในมหาสมุทรทั้ง 7 วัน 7 คืน มีปูทะเลยักษ์มาช่วยหนุนพระบาท

(เตมียชาดก)

เตมิยชาดก  

ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามพระโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง 5
เรื่องย่อเตมิยชาดก  
พระเตมีย์ชาดกเป็นหนึ่งในสิบเรื่องของทศชาติชาดก (10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ) ที่ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ซึ่งหมายถึงการละกามคุณทั้ง 5 (รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่น่าปรารถนา)

เมื่อพระเตมีย์อายุได้เพียง 1 เดือน ก็สามารถระลึกชาติได้ หลังจากที่เห็นพระบิดา คือพระเจ้ากาสิกราช ผู้ครองเมืองพาราณสี ลงโทษประหารชีวิตโจร 4 คน  ทรงระลึกได้ว่า ก่อนตนมาเกิดได้เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ แต่ก่อนหน้านั้นก็เคยตกนรกอยู่นานถึงแปดหมื่นปี เนื่องจากเคยเกิดเป็นพระราชาและได้ลงโทษตัดสินประหารชีวิตคนมาไม่ใช่น้อย

ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งใจว่าจะไม่ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา  เลยแกล้งทำเป็นคนพิการ ง่อยเปลี้ย หูหนวกและเป็นใบ้อยู่ถึง 16 ปี  จนถูกพวกพราหมณ์โหราจารย์ใส่ร้ายว่าเป็นกาลกิณี ต้องนำไปฝังทั้งเป็น
มื่อไปถึงป่ารกครึ้มพ้นจากพระนครแล้ว พระเตมีย์จึงแสดงตนว่าเป็นคนปกติ  แล้วตรัสสั่งสอนนายสุนันทะคนขับรถผู้ที่จะฝังตน จนเลื่อมใสต้องการบวชตามพระองค์
หลังจากนั้นพระเตมีย์ได้แสดงธรรมให้พระบิดาและผู้คนเป็นจำนวนมาก จนเกิดความเลื่อมใสต่างพากันออกบวช  

คำสอนเตือนสติในพระเตมีย์ชาดกมีมากมายหลายข้อ เช่นคนเราไม่ว่ายังหนุ่มยังสาว ก็ตายได้  ใครเล่าจะพึงวางใจในชีวิตว่าเรายังหนุ่มยังสาวอยู่ แล้วจะยังไม่ตาย  อายุของคนเราเป็นของน้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไปๆเหมือนอายุของปลาทั้งหลายในแม่น้ำน้อย...
สัตว์โลกถูกความตายครอบงำไว้  ถูกชราห้อมล้อมไว้  สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์คือคืนวันเป็นไปอยู่...
คำสอนนี้เตือนให้เราไม่ประมาทต่อชีวิต  เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องตายเมื่อไร  รวมทั้งทุกคนจะหนีความตายและความชราไปไม่พ้น  ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะหลงใหลไปกับกามคุณ 5  จึงควรเร่งทำความดีด้วยการเจริญกุศลทั้งปวง
ทรัพย์ย่อมทิ้งบุคคลไปก่อนก็มี  บางทีบุคคลก็ทิ้งทรัพย์ไปก่อนก็มี  แม้สิ่งอื่นๆก็เหมือนกันทั้งนั้น...
อันนี้เตือนสติให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติต่างๆในโลกล้วนเป็นของไม่เที่ยง เมื่อถึงเวลาก็หมดสิ้นไปตามเหตุปัจจัย  รวมถึงตัวเราเองก็ไม่เที่ยง  ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าตลอดไป  จึงไม่ควรยึดติดในทรัพย์สมบัติทั้งหลาย รวมทั้งตัวตนของเราด้วย  เพราะไม่มีอะไรที่เที่ยงและไม่มีอะไรที่เป็นของเราจริงๆ
เนกขัมมบารมีไม่ได้เพียงหมายความถึงการออกบวชเท่านั้น  แต่หมายถึงการเพียรที่จะละความติดข้องยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ลองไม่ดูหนัง ฟังเพลง หาของอร่อยกิน ฯลฯ สักวันสองวัน ก็จะรู้ได้เลยว่าทำได้ยากจริงๆ
  
ต้องอาศัยปัญญาที่เข้าใจในเรื่องเนกขัมมจริงๆ  รวมทั้งยังต้องพร้อมด้วยวิริยบารมีและขันติบารมี ที่จะเป็นผู้อดทนไม่หวั่นไหวในกามคุณทั้ง 5 อีกด้วย

ทศชาติชาดก

ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้าย
ของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่ายมักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
   กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้

ชาดกมีทั้งหมดรวม 10 เรื่อง
๑. เตมีย์ชาดก (บำเพ็ญเนกขัมมบารมี)

๒. ชนกชาดก (บำเพ็ญวิริยบารมี)

๓. สุวรรณสามชาดก (บำเพ็ญเมตตาบารมี)

๔. เนมิราชชาดก (บำเพ็ญอธิษฐานบารมี)

๕. มโหสถชาดก (บำเพ็ญปัญญาบารมี)

๖. ภูริทัตชาดก (บำเพ็ญศีลบารมี)

๗. จันทชาดก (บำเพ็ญขันติบารมี)

๘. นารทชาดก (บำเพ็ญอุเบกขาบารมี)

๙. วิทูรชาดก (บำเพ็ญสัจจบารมี)

๑๐.เวสสันดรชาดก (บำเพ็ญทานบารมี)
(1).เตมิยชาดก  ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามพระโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง 5
(2).ชนกชาดก 
ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี
ภาพเขียนฝาผนังเรื่องสุวรรณสาม ชาดก บันทึกจากวัดหน่อพุทธรางกูล สุพรรณบุรี
(3).สุวรรณสามชาดก  
ชาติที่ 3 เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี - สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี
(4).เนมิราชชาดก 
ชาติที่ 4 เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี - เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
(5).มโหสถชาดก 
ชาติที่ 5 เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
ภูริทัตชาดก
ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
จันทชาดก
ชาติที่ 7 เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
นารทชาดก
ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
วิทูรชาดก
ชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
(6).เวสสันดรชาดก 
ชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร