วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สารคดีที่ 3. ท่องเที่ยวแพลตตินั่ม แฟชั่น มอลล์

สารคดี….. ท่องเที่ยวแพลตตินั่ม แฟชั่น มอลล์

อาณาจักรไม่รู้จบ ของแฟชั่นค้าส่ง...กลางประตูน้ำ
เป็นศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าแฟชั่นขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัย บริเวณใจกลางประตูน้ำ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมแหล่งแฟชั่นค้าส่งครบวงจร (one-stop wholesale shopping center) ซึ่งประกอบด้วยร้านค้าส่งกว่า 2,000 ร้านค้า โดยโครงการเดอะ แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ล้านบาท (มูลค่าเงินลงทุนแรกเริ่ม จำนวน 2,600 ล้านบาท และลงทุนเพิ่มในส่วนขยายจำนวน 2,400 ล้านบาท) และเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในการช๊อปเสื้อผ้าที่สนุกสนานมากๆ มีเสื้อผ้าสวยๆ และดารา เน็ทไอดอล คนดังต่างๆ ก็พากันมาช๊อปที่นี่กันเยอะ ซึ่งแพลตตินั่มที่นี่ มีความสวย และเสื้อผ้าของใช้เยอะ เป็นจุดศูนย์กลางที่ผู้คนต่างพากันมามากมาย ใครได้เข้าไปเที่ยวหรือช๊อปเสื้อผ้าต่างๆ ก็คงจะปลื้อไม่แพ้กัน เพราะที่นี่ราคาส่งที่แพลตตินั่มส่วนใหญ่ไม่มีราคาส่งตัวเดียวให้กับลูกค้าทั่วไป แต่จะมีให้กับคนที่เคยเปิดบิลกับทางร้านเเล้ว ยกเว้นงานเซลล์หน้าร้านซื้อตัวเดียวก็ได้ราคาส่ง และเป็นแหล่งช๊อปปิ้งราคาส่งยอดฮิตที่เป็นที่นิยมไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยคงต้องหนีไม่พ้น “แพลตตินั่ม” ศูนย์ขายส่งเสื้อผ้ารองเท้ากระเป๋าราคาส่งสำหรับแม่ค้าและนักช๊อปตัวยงที่พลาดไม่ได้ วันนี้ในฐานะแม่ค้าขายเสื้อผ้า ฉันมีเคล็ดลับง่ายๆที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในการช๊อปปิ้งที่นี่ ตั้งแต่เริ่มเดินทาง จนช๊อปหมดตัว

สารคดีเรื่องที่ 2.ท่องเที่ยวทะเลตรัง


สารคดีเรื่อง....ท่องเที่ยวทะเลตรัง


แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดตรังตรัง หรือเมืองทับเที่ยง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตรังมีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดตรัง เป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวทางด้านตะวันตก ประมาณ 119 กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่อยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ภายในพื้นที่อำเภอกันตัง 12 เกาะ อำเภอปะเหลียน 13 เกาะ และอำเภอสิเกา 21 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว คือระหว่าง เดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของปี  ตรัง มีพื้นที่รวม 4,941 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ 

สารคดีการท่องเที่ยวเรื่องที่1 ถ้ำเทียนเหมิน จางเจี่ยเจี้ย กระเช้าลอยฟ้า สู่ภูผาประตูสวรรค์


สารคดีเรื่อง...... ถ้ำเทียนเหมิน จางเจี่ยเจี้ย กระเช้าลอยฟ้า สู่ภูผาประตูสวรรค์

เส้นทางรถยนต์ 99 โค้ง เลื้อยคดโค้งไต่ระดับไปตามไหล่เขาที่ด้านหนึ่งเป็นหุบเหวลึกน่าหวาดเสียว บางช่วงมีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ให้ทางลอดผ่าน  นับได้ว่าเป็นเส้นทางที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน และที่แห่งนี้มีกระเช้าลอยฟ้าที่ยาวที่สุดในโลกในขณะที่เมืองไทยของเรากำลังมีบรรยากาศร้อนๆ หนาวๆ คลุกเคล้ากับความน่าเบื่อกันอยู่ วันนี้ผมขอชวนคุณผู้อ่านเดินทางไปสู่เมืองที่มีความสงบงาม และมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติอย่างน่ามหัศจรรย์ดุจราวกับสวรรค์บนดิน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองไทยของเรามากนัก ที่แห่งนั้นที่ผมกำลังจะพาคุณผู้อ่านไปสัมผัสคือ เมืองจางเจี่ยเจี้ย สาธารณรัฐประชาชนจีน การเดินทางสู่เมืองจางเจี่ยเจี้ยนั้น วิธีที่สะดวกที่สุดคือนั่งเครื่องบินไปลงที่เมืองฉางซา เมืองหลวงของมณฑลหูหนาน แล้วนั่งรถยนต์ต่อไปอีก 4 ชั่วโมง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็จะถึงเมืองจางเจี่ยเจี้ยดินแดนอันประกอบไปด้วยขุนเขามากมายเรียงรายสลับซับซ้อนกันอย่างงดงามแปลกตา จนได้สมญานามว่าประตูสู่สรวงสรรค์ ในเมืองจางเจี่ยเจี้ยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่มากมายหลายแห่ง แต่ที่เป็นจุดเด่นที่สุดประมาณว่าหากใครได้มีโอกาสเดินทางมาแล้ว จะต้องเดินทางไปชมกันให้ได้นั้นคือ ภูเขาเทียนเหมินซาน หรือ ภูผาประตูสู่สวรรค์  จุดเด่นของที่นี่คือการที่จะต้องนั่งกระเช้าลอยฟ้าที่ยาวที่สุดในโลก โดยในช่วงแรกจากตัวเมืองรถยนต์จะออกเดินทางไปส่งยังเชิงเขาด้านล่าง จากนั้นจะต้องนั่งกระเช้าขึ้นสู่จุดสูงสุดของภูเขาเทียนเหมินซาน ซึ่งมีความยาวถึง 7.5 กิโลเมตร ใช้เวลาล่องลอยอยู่ในอากาศประมาณ 45 นาที  ระหว่างนั้นจะได้นั่งกระเช้าชมความงดงามของขุนเขาเรียงรายสลับซับซ้อน และจะได้เห็นเส้นทางรถยนต์ 99 โค้ง เลื้อยคดโค้งไต่ระดับไปตามไหล่เขาที่ด้านหนึ่งเป็นหุบเหวลึกน่าหวาดเสียว บางช่วงมีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ให้ทางลอดผ่าน  นับได้ว่าเป็นเส้นทางที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีนเลยทีเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ค่าวก้อม ค่าวซอ ค่าวธรรม

(ค่าวก้อม)

 ค่าวก้อม เป็นโวหารที่กินใจ หรือสุภาษิตสั้น ๆ มักใช้ประกอบการสนทนา

 ( ค่าวซอ)
 หมายถึงคำประพันธ์ที่นิยมแต่งกันมากทางภาคเหนือ แต่งค่อนข้างง่ายและอ่านเข้าใจง่าย ค่าวซออ่านด้วยทำนองเสนาะ โดยไม่ต้องมีดนตรีประกอบ วรรณกรรมที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทนี้ เช่น ค่าวซอเรื่องหงษ์หิน เจ้าสุวัตร ค่าวสี่บทของพระพรหมโวหาร เป็นต้น
 (ค่าวธรรม)

 หมายถึง คำประพันธ์ที่เน้นเรื่องชาดก หรือนิยายธรรมที่แต่งเป็นเรื่องยาวสำหรับใช้เทศน์ให้ชาวบ้านฟังที่วัดเพื่อให้ข้อคิดหรือหลักธรรมเช่น ค่าวธรรม เรื่อง จำปาสี่ต้นนอกจากนี้ ค่าวยังหมายถึงลักษณะการพูดของคนทั้งหลายที่ชอบพูดคล้องจองกันว่า “อู้เป็นค่าวเป็นเครือ”ตัวอย่าง ค่าวอี่ลุงสอนหลานหลานเหยหลาน ฟังสารค่าจ๊อย หื้อจ๋ำถี่ถ้อย ลุงจักไขจ๋าเจื้อกำคนนัก มักเสียน้ำต๋า อย่างเจื้อวาจ๋า รสเหมือนต๋าลอ้อยหลานยังหนุ่มสาว เปิงบ่าวใจ๋ห้อย อยู่ต๋ามแป๋ดอย สอดเซาะยิ่งแตกเนื้อสาว รุ่นราวเอ๊าะเอ๊าะ บ่าวเหยาะหยอกเล่น เป๋นเมาจะไปเจื้อนัก กำพู่จายเขา ป้อแม่ของเฮา หนาวหนาวไข้ไข้หากไปตกหลุม จะมานั่งไห้ เจ็บใจ๋แตงใน เสียบกั๊ดความปรารถนา เขาสารพัด คัดมาจนเสี้ยง คำคมเสียใจ๋บ่แล้ว ตกล่มตกจ๋ม เพราะเจื้อคารม ป้อจายจ้างอู้ถ้าเปิ้นฮักจิ๋ง แม่ญิงชอบสู้ ปรึกษาแม่ดู ก่อนเต๊อะอย่าเพิ่งตัดสิน โบยบินหมิ่นเซอะ จักเลอะแปดเปื้อน ราคีป้อแม่ปี้น้อง ย่อมฮักศักดิ์ศรี ต๋ามประเพณี สู่ขอ ก็หื้อกั๊นเปิ้นบ่สน อย่าไปฟั่งเตื้อ จับแขนจับมือ ล่วงล้ำอู้กั๋นเข้าใจ๋ ไผก็จ้วยก้ำ เจื้อกำสอนเจ้า เน้อนายอี่ลุงบอกจี้ เมื่อยังบ่สาย หื้อหลายสบาย สุขก๋ายจนเฒ่าเซาะว่าหากิ๋น บกดินสีข้าว ค่อยฮิหาเอา เตื้อหน้อยนกมีปีกหาง แป๋งฮางหย่อนย้อย ค่อยหาเตื้อหน้อย เหมือนคนขยันหมั่นต๊วง บ่มียากจน เอาใจเปรอปรน สามีของเจ้าตื่นก่อนนอนหลัง ดังไฟนึ่งข้าว ค่อยปงวางเบา ย่างย้ายลุกเจ๊าโบ๊ะหลัว มันจะผางฮ้าย เกร๋งใจ๋บ้ายใกล้ เรือนเคียงหงายครกลงฮ้าน ลาบฮ้านบนเขียง ผัวลุกจากเตียง เถียงกั๋นลั่นบ้านอย่าเซาะก่อก๋าน เล่าขวัญจ๋าต้าน สร้างความรำคาญ ยอกย้อนใส่ร้ายป้ายสี หื้อเปิ้นเดือดร้อน ปั้นน้ำเป๋นก้อน แป๋งกำจักเสียภาพพจน์ เสียยศไปถำ เป๋นคนริยำ อัปรีย์ขวางบ้านเรื่องคนอื่นเขา อย่ากล่าวต้าน เสียบริวาร ฮ้อนฮ้ายดี – เลว จ้างเขา เฮาไปใส่ร้าย บ่ใจ้ว่าได้ กิ๋นเมืองโบราณว่าไว้ อู้ได้ไปเปลื๋อง เป๋นคนก่วนเมือง หาเรื่องเปื้อนข้างเนื้อบ่ได้กิ๋น หนังบ่ได้หย่าง อย่าเต๊ะท่าทาง อวดฮู้บ่เข้าใจ๋จิ๋ง ป้าดพิงกระทู้ เปิ้นมักหัวสู้ ดูแควนวิชาความรู้ อย่าไปหาวแหน บอกหื้อทั่วแดน เป๋นแก๋นสรรค์สร้างคนบ่หวังดี ชอบจิสีข้าง จั๊กจุ๋งคนดัง ฟั่งลุกบ่มีเหตุผล ส่อสนสอดซุก เป๋นตุ๊กต๋างผู้ หวังดีหันเปิ้นตุ๊กตุ๊ก ปุกเปื้อนเสียดสี หันไผทำดีบ่มีเสริมสร้างตี๋ตั๋วเสมอ เลิศเลออวดอ้าง หันคนมีตังฟั่งชนเลียแข้ง เลียขา หลานอย่าไปคบ จักพบ ถึงขั้น อันตรายกล๋อนบรรยาย ไขสุดเสี้ยงหนี้ เต้านี้สู่กั๋นฟัง ก่อนแหล่นายเหย

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ


              คำที่ใช้ในภาษาไทยของเรา มีคำอยู่จำนวนมากที่เป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาอื่น เช่น มาจากภาษาบาลี สันสกฤต  เขมร  ชวา  จีน  อังกฤษ  ญี่ปุ่น  เป็นต้น  ซึ่งการรับคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในภาษาไทยมีสาเหตุ ดังนี้
 
       ๑. สภาพภูมิศาสตร์ คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึง 
            ทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมี             การแลกเปลี่ยนภาษากัน         ๒. ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามา 
            อยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ บางครั้งมีการทำศึก          
          สงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน ชนชาติอื่น ๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ผู้คน
          เหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย
       ๓. ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำ
            ภาษาที่ใช้ในคำสอน  มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้             ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ  
       ๔. การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับ
            ชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ถึงญี่ปุ่น ทำให้มี             ถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  
        ๕. วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษา
             สันสกฤต อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา 
         ๖. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย 
             นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่
              เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น 
         ๗. การศึกษาและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้และพูด 
              ภาษาอื่น ๆ และรับเอาวิทยาการต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา จึงนำภาษาของประเทศนั้นมาใช้ปะปนกับ
              ภาษาของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน  การจัดการ
              ศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสาร
              กันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น 
          ๘. ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพ โยกย้ายหรือในการติดต่อ
               ทางการทูต  ย่อมมีการรับและแลกเปลี่ยนกันทางด้านภาษา
          ๙. อพยพย้ายถิ่นฐาน การอพยพย้ายถิ่นฐานมา อาจจะมีสาเหตุจาก  สภาพเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพต้อง
               ไปการลี้ภัยการเมือง ภัยสงคราม  ก็จะมีการนำเอาภาษาของตนมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย

                                อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย

           ภาษาต่างปะเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอิทธิพลต่อภาษาไทย คือ ทำให้ลักษณะของภาษาไทยเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
            ๑. คำมีพยางค์มากขึ้น ภาษาไทยเป็นภาษาตระกูลคำโดด คำส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ พี่                      น้อง เดิน ยืน นั่ง นอน เมือง เดือน ดาว ช้าง แมว ม้า ป่า ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ หมู เห็ด เป็ด ไก่  เป็นต้น เมื่อยืม                  คำภาษาอื่นมาใช้ ทำให้คำมีมากพยางค์ขึ้น เช่น
                     -  คำสองพยางค์ เช่น บิดา มารดา เชษฐา กนิษฐา  ธานี จันทร สุริยะ  กุญชร วิฬาร์ เป็นต้น
                     -  คำสามพยางค์ เช่นโทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน ปรารถนา จักรพรรดิ  มัธยัสถ์ เป็นต้น
                     -  คำมากกว่าสามพยางค์ เช่น กัลปาวสาน สาธารณะ อุทกภัย ทศนิยม ประกาศนียบัตร เป็นต้น
              ๒. มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น โดยธรรมชาติของภาษาไทยจะมีคำควบกล้ำ ไม่มากนัก เมื่อรับภาษาอื่นเข้ามา
                   ใช้ เป็นเหตุให้มีคำควบกล้ำมากขึ้น เช่น บาตร ศาสตร์ ปราชญ์ พรหม ปราศรัย โปรด ปลูก ทรวง เกรด                         เคลียร์ เอ็นทรานซ์ ดรัมเมเยอร์ เป็นต้น
              ๓. มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น (คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน) ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำ                      ได้เหมาะสมตามความต้องการและวัตถุประสงค์ เช่น  
                          นก  - บุหรง ปักษา ปักษิน สกุณา วิหค
                          ม้า   - พาชี อาชา สินธพ หัย อัศวะ
                          ดอกไม้ - กรรณิกา บุปผชาติ บุหงา ผกา สุมาลี
                          ท้องฟ้า  - คคนานต์ ทิฆัมพร นภดล โพยม อัมพร
                          น้ำ     - คงคา ชลาลัย ธารา มหรรณพ สาคร
                          พระจันทร์ - แข จันทร์ นิศากร บุหลัน รัชนีกร
              ๔. มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำไทยแท้ส่วนใหญ่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เมื่อได้รับอิทธิพลภาษาต่าง                    ประเทศ คำใหม่จึงมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราจำนวนมาก เช่น พิพาท โลหิต สังเขป มิจฉาชีพ นิเทศ                        ประมาณ ผจญ กัปตัน ปลาสเตอร์ คริสต์ เคเบิล ดีเซล โฟกัส เป็นต้น
               ๕. ทำให้โครงสร้างของภาษาเปลี่ยนไป เช่น  ใช้คำ สำนวน หรือประโยคภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ                         ภาษาอังกฤษ เช่น

                             สำนวนภาษาต่างประเทศ     เขาพบตัวเองอยู่ในห้อง
                             สำนวนภาษาไทย     เขาอยู่ในห้อง
                             สำนวนภาษาต่างประเทศ   นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี
                             สำนวนภาษาไทย     ทมยันตีเขียนนวนิยายเรื่องนี้
                             สำนวนภาษาต่างประเทศ   มันเป็นอะไรที่สวยงามมาก
                             สำนวนภาษาไทย     มันเป็นสิ่งที่สวยงามมาก
ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต

               ภาษาบาลีและสันกฤต เป็นภาษาที่มาจากประเทศอินเดีย ดังนั้นคำในภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตจึง 
  คล้ายกัน  มาก  คำศัพท์บางคำใช้ร่วมกัน คือ เขียนสะกดเหมือนกัน  มีข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาบาลีและสันสกฤต     ดังนี้
               ๑. ภาษาบาลีมีเสียงสระ ๘ เสียง คือ   อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ
               ๒. ภาษาสันสกฤตมีสระ ๑๖ เสียง  ได้แก่  อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ   ฤ   ฤา   ฦ   ฦา   ไอ   เอา   อํ                    อะ   (  อํ  ออกเสียง  อัม )
               ๓. ภาษาสันสกฤต ใช้พยัญชนะ  ศ   ษ   ส่วนภาษาบาลีไม่ใช้
               ๔. คำจากภาษาบาลีใช้  ข   ส่วนสันสกฤติใช้   ษ  เช่น   จักขุุ - จักษุ    ยักข์ - ยักษ์    ภิกขุ - ภิกษุ
               ๕. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้อักษรควบกล้ำ  ร   ทั้งพยัญชนะต้น และพยัญชนะท้ายคำ
               ๖. ภาษาสันสกฤตใช้    รร   ส่วนภาษาบาลีไม่ใช้
               ๗. คำบางคำ ใช้เหมือนกันทั้งภาษาบาลี และสันสกฤต

                                             เปรียบเทียบคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

คำที่มาจากภาษาบาลี
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ไทยนำมาใช้
กีฬา
กรีฑา
กีฬา    กรีฑา
ปัญญา
ปรัชญา
ปัญญา   ปรัชญา
ปกติ
ปรกติ
ปกติ   ปรกติ
ปุตฺต
บุตร
บุตร
มิตฺต
มิตร
มิตร
สมคฺค
สมัคร
สมัคร
จนฺท
จันทร์
จันทร์
อินฺท
อินทร์
อินทร์
ภริยา
ภรรยา
ภริยา   ภรรยา
จริยา
จรรยา
จริยา   จรรยา
มริยาท
มรรยาท  มารยาท
มรรยาท  มารยาท
อัจฉริยะ
อัศจรรย์
อัจฉริยะ  อัศจรรย์
วณฺณ
วรรณะ
วรรณะ
กมฺม
กรรม
กรรม
ธมฺม
ธรรม   ธรรมะ
ธรรม     ธรรมะ
วสฺสา
พรรษา
พรรษา
 
                 เปรียบเทียบคำที่มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต เพิ่มเติม 
คำที่มาจากภาษาบาลี
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ไทยนำมาใช้
โอวาท
อววาท
โอวาท
โอกาส
อวกาศ
อวกาศ   โอกาส
โอสาน
อวสาน
อวสาน
อมตะ
อมฤต
อมตะ    อมฤต
สติ
สมฺฤดี
สติ  สมปฤดี
อิทฺธิ
ฤทฺธิ
อิทธิ  ฤทธิ์   อิทธิฤทธิ์
ทิฏฺฐิ
ทฤษฎี
ทิฐิ   ทฤษฎี
มาตุ
มาตฤ
มารดา   มารดร
ปิตา
ปิตฤ
บิดา   บิดร
กิตติ
กีรฺติ
เกียรติ
สุญฺญ
ศูนย์
สูญ   ศูนย์
รตฺติ
ราตรี
ราตรี
สามัคคี
สามคฺรี
สามัคคี
ครุ   คุรุ
คุรุ
ครู
โรค
โรค
โรค
โลก
โลก
โลก
ตารา
ตารา
ดาว
 สตฺตสตฺว สัตว์ 
 อาสยอาศย อาศัย 
สิลา ศิลา ศิลา 
 สาสนศาสน ศาสนา 
สีล ศีล ศีล 
 วิสวิษ พิษ 
 เสฏฺฐีเศฺรษฺฐี เศรษฐี