วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วรรณกรรมพุทธศาสนาแบบฝึกหัดที่ ๑

แบบฝึกหัดวรรณกรรมพุทธศาสนา


วรรณกรรมพุทธศาสนาแบบฝึกหัดที่ ๑
  ๑.  ในสวรรณสามชาดก พระโพฺธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี.............................................................
  ๒.  ในชนกชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี..............................................
  ๓.  ในนารทชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ...เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี.....................................
  ๔.  ในวิทูรชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ.... เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี.....................................
  ๕.  ในมโหสถชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ.... เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี.......................................
  ๖.  ในเตมีย์ชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี.........................................
  ๗.  ในเวสสันดรชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ...เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร..................................................
  ๘.  ในจันทชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี...........................................
  ๙.  ในเนมิราชชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี..........................................
  ๑๐. ในภูริทัตชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..... เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี............................................
  ๑๑.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์ทศพร  สาระสำคัญ คืออะไร
             ตอบ.... เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว  พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช  พรจากภพสวรรค์ แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อ ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า และอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้ ..........................................
  ๑๒.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์กุมาร  สาระสำคัญ  คืออะไร
             ตอบ........๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้าเพื่อขอสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า “ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง” ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า “ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก”
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประณาม...............................................
  ๑๓.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์หิมพานต์  สาระสำคัญ  คืออะไร
             ตอบ......๑. คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
                     ๒. โลกต้องการผู้เสียสละ มิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
                     ๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค “มารไม่มีบารมีไม่มา มารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า”
               ๔. จุดหมายแห่งการเสียสละ อยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์.............................
  ๑๔. เวสสันดรชาดก  กัณฑ์นคร  สาระสำคัญ คืออะไร
              จงนำข้อมูลต่อไปนี้ไปตอบข้อ  ๑๕ - 
           มนุษยภูมิ     นรกภูมิ    ดิรัจฉานภูมิ    เปรตภูมิ    พรหม ๑๖ ชั้น     สวรรค์ ๖ ชั้น
           อสุรกายภูมิ    พรหม ๔ ชั้น
  ๑๕.  กามภูมิ  ได้แก่...กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 



อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ

สุคติภูมิิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส
................................................................
  ๑๖.  อรูปภูมิ   ได้แก่...ภูมิระดับสูง มี 4 ชั้น อยู่สูงสุดขอบกำแพงจักรวาล เหล่าพรหมในชั้นนี้ไม่มีตัวตน มีเพียงแต่จิต ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ต้องจำเริญภาวนาฌาน พิจารณาขันธ์ห้าจนเข้าถึงอรูปฌาน คือไม่ยินดีในร่างกายตน ปรารถนาที่จะไม่มีตัวตน จะได้มาเกิดใน อากาสานัญจายตนภูมิ (Realm of infinite space) คือภพของผู้เข้าถึงฌานอันกำหนดอากาศเป็นช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 20,000 มหากัลป์ แล้วกำหนดจิตให้สูงขึ้น ปรารถนาให้อยู่เหนืออากาศ จนได้เกิดใน วิญญาณัญจายตนภูมิ (Realm of infinite consciousness) คือภพของผู้กำหนดวิญญาน อันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 40,000 มหากัลป์ เมื่อพิจารณาภาวนาฌานให้สูงขึ้น จนได้ฌานกำหนดอันกำหนดภาวะที่ ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ จึงได้เกิดใน อากิญจัญญายตนภูมิ (Realm of nothingness) มีอายุยืน 60,000 มหากัลป์ แต่ยังไม่พอใจใคร่จะได้ไปเกิดในพรหมชั้นสูงขึ้นไป จนจิตเข้าถึงสภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ถึงภูมิชั้นสูงสุดในไตรภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (Real of neither perception nor non-perception) พรหมโลกชั้นนี้มีสมาบัติยิ่งกว่าพรหมทุกแห่ง สามารถเห็นชั้นฟ้า ชั้นดิน ชั้นอินทร์ และชั้นพรหม ดุจเห็นมะขามป้อมกลางฝ่ามือ มีจิตอันเป็น โสภณเจตจิต คือสภาวะธรรมที่ดีงามเกิดดับพร้อมกับจิต มีอายุยืนถึง 84,000 มหากัลป์ 
..........................................................
  ๑๗.  รูปภูมิ  ได้แก่.....

ภูมิระดับกลาง เป็นรูปพรหม มี 16 ชั้น แบ่งออกเป็น ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และจตุตฌานภูมิ 7 อยู่เหนือสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิขึ้นไปนับประมาณไม่ได้ ผู้ที่จะมาเกิดในพรหมโลกนี้ ต้องจำเริญสมาธิภาวนา จำเริญกรรมฐาน เพื่อบำบัด ปัญจนิวรณ์ คือ

กามฉันทะ ความพอใจในกาม
พยาบาท ความคิดร้ายเคืองแค้นใจ
ถีนมิทธะ ความหดหู่เซื่องซึม
อุทธัจจกุกกุจจะ ความกระวนกระวายใจ
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย 
.................................................
  ๑๘.  การที่จิตของคนเราจะหลุดพ้นจากภพภูมิต่าง ๆ คือ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
           เราจะต้องทำอย่างไร.....ปล่อยจิตใจให้ร่มเย็นแล้วทุกอย่างจะเป็นสุขเอง.........................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น