วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วรรณกรรมพุทธศาสนาแบบฝึกหัดที่ ๑

แบบฝึกหัดวรรณกรรมพุทธศาสนา


วรรณกรรมพุทธศาสนาแบบฝึกหัดที่ ๑
  ๑.  ในสวรรณสามชาดก พระโพฺธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี.............................................................
  ๒.  ในชนกชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี..............................................
  ๓.  ในนารทชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ...เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี.....................................
  ๔.  ในวิทูรชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ.... เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี.....................................
  ๕.  ในมโหสถชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ.... เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี.......................................
  ๖.  ในเตมีย์ชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี.........................................
  ๗.  ในเวสสันดรชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ...เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร..................................................
  ๘.  ในจันทชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี...........................................
  ๙.  ในเนมิราชชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ....พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี..........................................
  ๑๐. ในภูริทัตชาดก  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอะไร
              ตอบ..... เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี............................................
  ๑๑.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์ทศพร  สาระสำคัญ คืออะไร
             ตอบ.... เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว  พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช  พรจากภพสวรรค์ แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อ ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า และอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้ ..........................................
  ๑๒.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์กุมาร  สาระสำคัญ  คืออะไร
             ตอบ........๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้าเพื่อขอสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า “ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง” ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า “ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก”
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประณาม...............................................
  ๑๓.  เวสสันดรชาดก  กัณฑ์หิมพานต์  สาระสำคัญ  คืออะไร
             ตอบ......๑. คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
                     ๒. โลกต้องการผู้เสียสละ มิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
                     ๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค “มารไม่มีบารมีไม่มา มารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า”
               ๔. จุดหมายแห่งการเสียสละ อยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์.............................
  ๑๔. เวสสันดรชาดก  กัณฑ์นคร  สาระสำคัญ คืออะไร
              จงนำข้อมูลต่อไปนี้ไปตอบข้อ  ๑๕ - 
           มนุษยภูมิ     นรกภูมิ    ดิรัจฉานภูมิ    เปรตภูมิ    พรหม ๑๖ ชั้น     สวรรค์ ๖ ชั้น
           อสุรกายภูมิ    พรหม ๔ ชั้น
  ๑๕.  กามภูมิ  ได้แก่...กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 



อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ

สุคติภูมิิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส
................................................................
  ๑๖.  อรูปภูมิ   ได้แก่...ภูมิระดับสูง มี 4 ชั้น อยู่สูงสุดขอบกำแพงจักรวาล เหล่าพรหมในชั้นนี้ไม่มีตัวตน มีเพียงแต่จิต ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ต้องจำเริญภาวนาฌาน พิจารณาขันธ์ห้าจนเข้าถึงอรูปฌาน คือไม่ยินดีในร่างกายตน ปรารถนาที่จะไม่มีตัวตน จะได้มาเกิดใน อากาสานัญจายตนภูมิ (Realm of infinite space) คือภพของผู้เข้าถึงฌานอันกำหนดอากาศเป็นช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 20,000 มหากัลป์ แล้วกำหนดจิตให้สูงขึ้น ปรารถนาให้อยู่เหนืออากาศ จนได้เกิดใน วิญญาณัญจายตนภูมิ (Realm of infinite consciousness) คือภพของผู้กำหนดวิญญาน อันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ มีอายุยืน 40,000 มหากัลป์ เมื่อพิจารณาภาวนาฌานให้สูงขึ้น จนได้ฌานกำหนดอันกำหนดภาวะที่ ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ จึงได้เกิดใน อากิญจัญญายตนภูมิ (Realm of nothingness) มีอายุยืน 60,000 มหากัลป์ แต่ยังไม่พอใจใคร่จะได้ไปเกิดในพรหมชั้นสูงขึ้นไป จนจิตเข้าถึงสภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ถึงภูมิชั้นสูงสุดในไตรภูมิ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (Real of neither perception nor non-perception) พรหมโลกชั้นนี้มีสมาบัติยิ่งกว่าพรหมทุกแห่ง สามารถเห็นชั้นฟ้า ชั้นดิน ชั้นอินทร์ และชั้นพรหม ดุจเห็นมะขามป้อมกลางฝ่ามือ มีจิตอันเป็น โสภณเจตจิต คือสภาวะธรรมที่ดีงามเกิดดับพร้อมกับจิต มีอายุยืนถึง 84,000 มหากัลป์ 
..........................................................
  ๑๗.  รูปภูมิ  ได้แก่.....

ภูมิระดับกลาง เป็นรูปพรหม มี 16 ชั้น แบ่งออกเป็น ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และจตุตฌานภูมิ 7 อยู่เหนือสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิขึ้นไปนับประมาณไม่ได้ ผู้ที่จะมาเกิดในพรหมโลกนี้ ต้องจำเริญสมาธิภาวนา จำเริญกรรมฐาน เพื่อบำบัด ปัญจนิวรณ์ คือ

กามฉันทะ ความพอใจในกาม
พยาบาท ความคิดร้ายเคืองแค้นใจ
ถีนมิทธะ ความหดหู่เซื่องซึม
อุทธัจจกุกกุจจะ ความกระวนกระวายใจ
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย 
.................................................
  ๑๘.  การที่จิตของคนเราจะหลุดพ้นจากภพภูมิต่าง ๆ คือ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
           เราจะต้องทำอย่างไร.....ปล่อยจิตใจให้ร่มเย็นแล้วทุกอย่างจะเป็นสุขเอง.........................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

(หนูกัดผ้า)

(หนูกัดผ้า)



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภพราหมณ์ชาวเมืองผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นมิจฉาทิฎฐิ มีโภคทรัพย์มาก เรื่องมีอยู่ว่า...
วันหนึ่ง หนูได้กัดผ้านุ่งคู่หนึ่งของพราหมณ์ ที่เก็บไว้ในหีบ เขาคิดว่า 
    " ความพินาศอย่างใหญ่หลวง จักมีแก่ครอบครัวของเราและผู้ที่นุ่งผ้าคู่นี้ "
จึงให้ลูกชายใช้ท่อนไม้คอนผ้าไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ
เช้าตรู่ของวันนั้น พระพุทธองค์ได้ตรวจดูเวไนยสัตว์ เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของพราหมณ์พ่อลูกคู่นี้ จึงได้เสด็จไปเหมือนนายพรานตามรอยเนื้อ ได้ประทับยืนอยู่ที่ประตูป่าช้าผีดิบ ทรงเปล่งพระพุทธรังษี ๖ ประการอยู่ ฝ่ายลูกชายของพราหมณ์ เดินคอนผ้าเข้าประตูป่าช้าผีดิบมา เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถาม จึงเล่าเรื่องนั้นให้ฟัง พระพุทธองค์จึงตรัสให้ทิ้งผ้านั้นเสีย พอมานพนั้นทิ้งผ้าแล้ว พระองค์ก็ทรงถือเอาผ้านั้นต่อหน้ามานพนั่นเอง ทั้งๆที่ถูกมานพนั้นห้ามอยู่ว่า 
    " อย่าจับ อย่าจับ ผ้านั้นเป็นอวมงคล "
ก็ทรงถือผ้านั้นเสด็จกลับวัดเวฬุวันไป
มานพรีบกลับไปบ้านบอกเรื่องนั้นแก่บิดา พราหมณ์พอได้ฟังลูกชายเล่าเรื่องจบ ก็ตกใจด้วยเกรงว่า 
    " ความพินาศจักมีแก่พระพุทธเจ้าและพระวิหาร ผู้คนก็จะครหานินทาได้ เราต้องหาผ้าผืนใหม่ไปถวายแลกผ้าคู่นั้นนำกลับไปทิ้งเสีย "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

เป็นชาวพุทธไม่ควรเชื่อในเรื่องไม่ดี

(ไก่ขันไม่เป็นเวลา)

(ไก่ขันไม่เป็นเวลา)



   ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง สร้างความรำคาญและความเดือดร้อนแก่หมู่ภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่มานพประมาณ ๕๐๐ คน พวกมานพอาศัยไก่ขันยามตัวหนึ่ง ในการลุกขึ้นศึกษาศิลปะ ต่อมามันได้ตายไป พวกเขาจึงแสวงหาไก่ตัวอื่นแทนมัน
   วันหนึ่ง มีมานพคนหนึ่งเข้าไปหักฟืนในป่า ได้ไก่ป่าตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้ ไก่ตัวนี้ไม่รู้จักเวลาขัน เพราะเติบโตขึ้นในป่า บางวันก็ขันดึกเกินไป บางวันก็ขันอรุณขึ้น พวกมานพพากันตื่นมาศึกษาศิลปะในเวลาดึกเกินไป ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณขึ้น ก็พากันนอนหลับไป ในเวลาสว่างแล้วก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย พวกเขาจึงพากันพูดว่า " เดี๋ยวมันขันดึกไป เดี๋ยวมันขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเราคงศึกษาศิลปะไม่สำเร็จหรอก " จึงนำมันไปแกงเป็นอาหารแล้วบอกเรื่องนั้นแก่อาจารย์
   อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า
     " ไก่ตัวนี้ ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่
       ไม่ได้อยู่ศึกษาในสำนักอาจารย์
       จึงไม่รู้เวลาที่ควรขันและไม่ควรขัน "


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

เกิดเป็นคนต้องรู้จักเวลา ที่เหมาะสมว่าอะไรควรไม่ควร

(เต่าชอบโอ้อวด)

(เต่าชอบโอ้อวด)



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุสหายกันสองรูปที่มักเถียงกันว่า ใครรูปหล่อกว่ากัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา สมัยนั้นมีปลาอยู่ ๒ ตัว ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา อีกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำยมุนา ปลาทั้ง ๒ ตัวเมื่อว่ายมาเจอกันที่แม่น้ำทั้ง ๒ สายมาบรรจบกันตรงที่ต้นไม้นั้นอยู่ก็มักจะทุ่มเถียงกันว่าใครงามกว่ากันเสมอ ต่างก็ว่าตัวเองนั้นงามกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงกันไม่ได้สักที จึงพากันไปหาเต่าตัวหนึ่งเป็นผู้ตัดสินให้ว่าใครงามกว่ากัน
     "ท่านเต่าผู้น่ารัก ขอท่านช่วยตัดสินให้พวกข้าพเจ้าเสียทีว่าใครงามกว่ากัน"
     เต่าตัดสินว่า "ท่านปลาทั้งสอง ท่านที่มีอยู่แม่น้ำคงคาก็งามดีไม่มีที่ติ ท่านที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งามดีไม่มีที่ติ แต่โดยรวมแล้วเรางามกว่าพวกท่านทั้งสองอยู่ดี"
     ปลาทั้ง ๒ ตัวฟังคำตัดสินของเต่าแล้วก็ด่ามันกว่า "เจ้าเต่าชั่ว เจ้าไม่ตอบคำถามของพวกเรากลับตอบไปอย่างอื่น" แล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า

      "ท่านไม่ตอบเรื่องที่เราถาม เราถามอย่างหนึ่ง ท่านกลับตอบเสียงอีกอย่างหนึ่ง คนที่ยกย่องตนอง พวกเราไม่ชอบใจเลย"
ว่าแล้วปลาทั้ง ๒ ตัวก็พ่นน้ำใส่เต่านั้น เต่ากลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม เทวดาโพธิสัตว์เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอดได้แต่ให้เสียงสาธุการ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ผู้มักโอ้อวดตนเอง มักจะไม่มีเพื่อนและขาดคนเชื่อถือ

(ลิงเจ้าปัญญา)

(ลิงเจ้าปัญญา)



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาลิงมีรูปร่างใหญ่โตสวยงาม มีพละกำลังเท่าช้าง อาศัยอยู่ที่ราวป่า คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในแม่น้ำนั้นมีจระเข้สองผัวเมียอาศัยอยู่ วันหนึ่ง จระเข้ตัวเมียเห็นร่างกายของพญาลิงแล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินหัวใจลิงตัวนั้น
     "พี่ช่วยนำมันมาให้น้องหน่อยนะจ๊ะ"
     สามีพูดว่า "น้องจ๋าเราเป็นสัตว์ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์บนบก พี่จะจับลิงได้อย่างไรละจ๊ะ"
     เมียพูดด้วยความน้อยในว่า "พี่ต้องหาวิธีจับมันมาให้ได้ มิเช่นนั้นน้องขอตายดีกว่า"
     สามีจึงพูดปลอบใจว่า "น้องจ๋า อย่างเพิ่งตายเลยจ๊ะ พี่จะไปจับมันมาเดี๋ยวนี้ละจ๊ะ"

ว่าแล้วก็ไปหาพญาลิงที่กำลังลงมาดื่มน้ำที่ฝั่งพอดี ร้องถามขึ้นว่า "ท่านลิง ท่านกินแต่กล้วยที่ฝั่งนี้ไม่เบื่อรึไง ไม่คิดอยากจะข้ามไปกินผลไม้ฝั่งโน้นบ้างหรือ"
     ลิงตอบว่า "ท่านจระเข้ แม่น้ำนี้กว้างใหญ่ไพศาล เราจะข้ามไปได้อย่างไร"
     จระเข้ ได้ทีจึงเสนอตัวว่า "ถ้าท่านจะไปจริง ๆ ก็ขึ้นบนหลังของเราไปก็ได้ เราอาสาจะไปส่ง" 

     ลิงเชื่อคำพูดของมันจึงได้กระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ไป

     จระเข้พอพาลิงไปถึงกลางแม่น้ำก็มุดลงดำน้ำ ลิงร้องถามว่า "ท่านแกล้งเรา จะให้เราจมน้ำตายรึไง"
     จระเข้ตอบว่า "เรามิได้คิดอาสาจะพาท่านไปฝั่งโน้นจริง ๆ หรอก เมียเราแพ้ท้องอยากกินหัวใจท่าน เราจะพาท่านไปให้เมียเรากินต่างหาก"
     ลิงพูดขึ้นด้วยเล่ห์ว่า "เพื่อนเอ๋ย ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องเราเมื่อกระโดดไปมาบนต้นไม้ หัวใจเราก็แหลกหมดนะสิ หัวใจไม่ได้อยู่กับเรา"
     จระเข้หลงกลถามไปว่า "แล้วท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนละ"
     ลิงจึงชี้ไปที่ต้นมะเดื่อต้นหนึ่งที่ไม่ไกลนักมีผลสุกเป็นพวงอยู่ พร้อมกับพูดว่า "นั่นไง หัวใจของเราแขวนอยู่ที่ต้นมะเดื่อนั่นไง"
     จระเข้พูดว่า "หากท่านให้หัวใจแก่เรา เราจะไม่ฆ่าท่าน"
     ลิงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านพาเราไปที่นั้นสิ เราจะให้หัวใจแก่ท่าน"

จระเข้จึงพาลิงไปส่งที่ต้นมะเดื่อนั้น ลิงกระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไปแล้ว พร้อมกับพูดว่า
     "เจ้าจระเข้หน้าโง่ หัวใจสัตว์ตัวไหนจะอยู่บนยอดไม้ เจ้าใหญ่แต่ตัวเสียเปล่า หามีปัญญาไม่" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
     "เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า และผลขนุนที่ท่านเห็นฝั่งสมุทรโน้น ผลมะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่าร่างกายของท่านใหญ่โตเสียเปล่าแต่ปัญญาไม่สมกับร่างกายเลย จระเข้..ถูกเราลวงแล้วนัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด"

จระเข้พอทราบว่าหลงกลลิงแล้วก็เป็นทุกข์เสียใจซึมเซาเหมือนกับเสียพนัน มุดกลับยังถิ่นที่อยู่ของตนตามเดิม

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนโง่ย่อมเป็นเยื่อของคนฉลาด 

(นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น)


(นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น)



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้เลียนแบบอย่างพระองค์แล้วถึงความพินาศ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานชื่อขทิรวนิยะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ตะเคียนแห่งหนึ่ง มีเพื่อนนกหัวขวานตัวหนึ่งชื่อกันทคลกะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ทองหลางแห่งหนึ่ง 
     "สหาย ต้นไม้ที่มีใบละเอียด มีหนามนี้เป็นต้นอะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว ทำให้สมองไหลหัวแตกเสียแล้ว นกขิทรวนิยะได้ร้องตอบเป็นคาถาว่า "นกกันทคลกะ เมื่อเจาะหมู่ไม้ในป่าได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภายหลังมาพบต้นตะเคียนซึ่งมีแก่นโดยธรรมชาติ ได้ทำลายกระหม่อมที่ต้นตะเคียนนั้นแล้ว"
ว่าแล้วก็ผลุนผันไปเอาจะงอยปากเคาะต้นตะเคียนต้นหนึ่งสุดแรงเกิด ดัง "ป๊อก ๆ ๆ" ทันใดนั่นเองจะงอยปากของมันได้หักทันทีตาทะลักออก หัวแตกตกจากต้นไม้ลงพื้นดิน นอนดิ้นไปมาได้ร้องถามก่อนสิ้นใจว่า 
     นกขทิรวนิยะพูดห้ามว่า "สหาย ท่านเคยหากินอยู่แต่ในเขตป่าไม้ไม่มีแก่น ไม้ตะเคียนเป็นไม้มีแก่น ท่านจะไหวหรือ ?" นกกันทคลกะพูดว่า "เราก็นกหัวขวานเหมือนกันกับท่านนี่"





นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อย่าอวดเก่งในสิ่งที่ตนเองไม่ชำนาญ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

(คนชั่วสรรเสริญกันเอง)


บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด
และบรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่งเป็นต้นไม้ที่เลวที่สุด
ที่สุด ๓ อย่าง มาประจวบกันเข้าแล้ว “
(คนชั่วสรรเสริญกันเอง)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะต่างสรรเสริญกันเอง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ที่ต้นละหุ่ง ในบริเวณบ้านหลังหนึ่ง วันหนึ่งได้มีวัวแก่ตัวหนึ่งในบ้านนั้นได้ตายลง เจ้าของบ้านได้ลากซากศพมันไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์ไว้ที่ข้างต้นละหุ่งนั้น ต่อมาไม่นานมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมาแทะกินเนื้อวัวนั้นอยู่ และมีกาตัวหนึ่งบินมาจับที่ต้นละหุ่งนั้น ด้วยหวังจะกินเนื้อวัวนั้นเช่นกัน จึงพูดยกย่องสุนัขจิ้งจอกขึ้นว่า ” ท่านพญาเนื้อ ผู้มีร่างกายเหมือนโคถึก มีความองอาจดังราชสีห์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่ท่าน ทำอย่างไร ข้าพเจ้าจักได้อาหารสักหน่อยหนึ่ง ”สุนัขจิ้งจอกได้ฟังคำยกย่องนั้นแล้วก็ชื่นใจพูดตอบกลับไปว่า ” กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่นเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด”เทวดาเห็นกากับสุนัขจิ้งจอกกล่าวยกย่องกันตามที่ไม่เป็นจริง จึงกล่าวคาถาว่า
” บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์เลวที่สุด
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คนเลวยกย่องกันเอง ชื่อเสียงมักไม่ปรากฏ
คนดียกย่องคนดีเหมือนกัน ชื่อเสียงย่อมปรากฏ