วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ


              คำที่ใช้ในภาษาไทยของเรา มีคำอยู่จำนวนมากที่เป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาอื่น เช่น มาจากภาษาบาลี สันสกฤต  เขมร  ชวา  จีน  อังกฤษ  ญี่ปุ่น  เป็นต้น  ซึ่งการรับคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในภาษาไทยมีสาเหตุ ดังนี้
 
       ๑. สภาพภูมิศาสตร์ คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึง 
            ทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมี             การแลกเปลี่ยนภาษากัน         ๒. ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามา 
            อยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ บางครั้งมีการทำศึก          
          สงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน ชนชาติอื่น ๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ผู้คน
          เหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย
       ๓. ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำ
            ภาษาที่ใช้ในคำสอน  มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้             ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ  
       ๔. การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับ
            ชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ถึงญี่ปุ่น ทำให้มี             ถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  
        ๕. วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษา
             สันสกฤต อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา 
         ๖. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย 
             นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่
              เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น 
         ๗. การศึกษาและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้และพูด 
              ภาษาอื่น ๆ และรับเอาวิทยาการต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา จึงนำภาษาของประเทศนั้นมาใช้ปะปนกับ
              ภาษาของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน  การจัดการ
              ศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสาร
              กันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น 
          ๘. ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพ โยกย้ายหรือในการติดต่อ
               ทางการทูต  ย่อมมีการรับและแลกเปลี่ยนกันทางด้านภาษา
          ๙. อพยพย้ายถิ่นฐาน การอพยพย้ายถิ่นฐานมา อาจจะมีสาเหตุจาก  สภาพเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพต้อง
               ไปการลี้ภัยการเมือง ภัยสงคราม  ก็จะมีการนำเอาภาษาของตนมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย

                                อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย

           ภาษาต่างปะเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอิทธิพลต่อภาษาไทย คือ ทำให้ลักษณะของภาษาไทยเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
            ๑. คำมีพยางค์มากขึ้น ภาษาไทยเป็นภาษาตระกูลคำโดด คำส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ พี่                      น้อง เดิน ยืน นั่ง นอน เมือง เดือน ดาว ช้าง แมว ม้า ป่า ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ หมู เห็ด เป็ด ไก่  เป็นต้น เมื่อยืม                  คำภาษาอื่นมาใช้ ทำให้คำมีมากพยางค์ขึ้น เช่น
                     -  คำสองพยางค์ เช่น บิดา มารดา เชษฐา กนิษฐา  ธานี จันทร สุริยะ  กุญชร วิฬาร์ เป็นต้น
                     -  คำสามพยางค์ เช่นโทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน ปรารถนา จักรพรรดิ  มัธยัสถ์ เป็นต้น
                     -  คำมากกว่าสามพยางค์ เช่น กัลปาวสาน สาธารณะ อุทกภัย ทศนิยม ประกาศนียบัตร เป็นต้น
              ๒. มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น โดยธรรมชาติของภาษาไทยจะมีคำควบกล้ำ ไม่มากนัก เมื่อรับภาษาอื่นเข้ามา
                   ใช้ เป็นเหตุให้มีคำควบกล้ำมากขึ้น เช่น บาตร ศาสตร์ ปราชญ์ พรหม ปราศรัย โปรด ปลูก ทรวง เกรด                         เคลียร์ เอ็นทรานซ์ ดรัมเมเยอร์ เป็นต้น
              ๓. มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น (คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน) ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำ                      ได้เหมาะสมตามความต้องการและวัตถุประสงค์ เช่น  
                          นก  - บุหรง ปักษา ปักษิน สกุณา วิหค
                          ม้า   - พาชี อาชา สินธพ หัย อัศวะ
                          ดอกไม้ - กรรณิกา บุปผชาติ บุหงา ผกา สุมาลี
                          ท้องฟ้า  - คคนานต์ ทิฆัมพร นภดล โพยม อัมพร
                          น้ำ     - คงคา ชลาลัย ธารา มหรรณพ สาคร
                          พระจันทร์ - แข จันทร์ นิศากร บุหลัน รัชนีกร
              ๔. มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำไทยแท้ส่วนใหญ่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เมื่อได้รับอิทธิพลภาษาต่าง                    ประเทศ คำใหม่จึงมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราจำนวนมาก เช่น พิพาท โลหิต สังเขป มิจฉาชีพ นิเทศ                        ประมาณ ผจญ กัปตัน ปลาสเตอร์ คริสต์ เคเบิล ดีเซล โฟกัส เป็นต้น
               ๕. ทำให้โครงสร้างของภาษาเปลี่ยนไป เช่น  ใช้คำ สำนวน หรือประโยคภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ                         ภาษาอังกฤษ เช่น

                             สำนวนภาษาต่างประเทศ     เขาพบตัวเองอยู่ในห้อง
                             สำนวนภาษาไทย     เขาอยู่ในห้อง
                             สำนวนภาษาต่างประเทศ   นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี
                             สำนวนภาษาไทย     ทมยันตีเขียนนวนิยายเรื่องนี้
                             สำนวนภาษาต่างประเทศ   มันเป็นอะไรที่สวยงามมาก
                             สำนวนภาษาไทย     มันเป็นสิ่งที่สวยงามมาก
ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต

               ภาษาบาลีและสันกฤต เป็นภาษาที่มาจากประเทศอินเดีย ดังนั้นคำในภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตจึง 
  คล้ายกัน  มาก  คำศัพท์บางคำใช้ร่วมกัน คือ เขียนสะกดเหมือนกัน  มีข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาบาลีและสันสกฤต     ดังนี้
               ๑. ภาษาบาลีมีเสียงสระ ๘ เสียง คือ   อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ
               ๒. ภาษาสันสกฤตมีสระ ๑๖ เสียง  ได้แก่  อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ   ฤ   ฤา   ฦ   ฦา   ไอ   เอา   อํ                    อะ   (  อํ  ออกเสียง  อัม )
               ๓. ภาษาสันสกฤต ใช้พยัญชนะ  ศ   ษ   ส่วนภาษาบาลีไม่ใช้
               ๔. คำจากภาษาบาลีใช้  ข   ส่วนสันสกฤติใช้   ษ  เช่น   จักขุุ - จักษุ    ยักข์ - ยักษ์    ภิกขุ - ภิกษุ
               ๕. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้อักษรควบกล้ำ  ร   ทั้งพยัญชนะต้น และพยัญชนะท้ายคำ
               ๖. ภาษาสันสกฤตใช้    รร   ส่วนภาษาบาลีไม่ใช้
               ๗. คำบางคำ ใช้เหมือนกันทั้งภาษาบาลี และสันสกฤต

                                             เปรียบเทียบคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

คำที่มาจากภาษาบาลี
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ไทยนำมาใช้
กีฬา
กรีฑา
กีฬา    กรีฑา
ปัญญา
ปรัชญา
ปัญญา   ปรัชญา
ปกติ
ปรกติ
ปกติ   ปรกติ
ปุตฺต
บุตร
บุตร
มิตฺต
มิตร
มิตร
สมคฺค
สมัคร
สมัคร
จนฺท
จันทร์
จันทร์
อินฺท
อินทร์
อินทร์
ภริยา
ภรรยา
ภริยา   ภรรยา
จริยา
จรรยา
จริยา   จรรยา
มริยาท
มรรยาท  มารยาท
มรรยาท  มารยาท
อัจฉริยะ
อัศจรรย์
อัจฉริยะ  อัศจรรย์
วณฺณ
วรรณะ
วรรณะ
กมฺม
กรรม
กรรม
ธมฺม
ธรรม   ธรรมะ
ธรรม     ธรรมะ
วสฺสา
พรรษา
พรรษา
 
                 เปรียบเทียบคำที่มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต เพิ่มเติม 
คำที่มาจากภาษาบาลี
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ไทยนำมาใช้
โอวาท
อววาท
โอวาท
โอกาส
อวกาศ
อวกาศ   โอกาส
โอสาน
อวสาน
อวสาน
อมตะ
อมฤต
อมตะ    อมฤต
สติ
สมฺฤดี
สติ  สมปฤดี
อิทฺธิ
ฤทฺธิ
อิทธิ  ฤทธิ์   อิทธิฤทธิ์
ทิฏฺฐิ
ทฤษฎี
ทิฐิ   ทฤษฎี
มาตุ
มาตฤ
มารดา   มารดร
ปิตา
ปิตฤ
บิดา   บิดร
กิตติ
กีรฺติ
เกียรติ
สุญฺญ
ศูนย์
สูญ   ศูนย์
รตฺติ
ราตรี
ราตรี
สามัคคี
สามคฺรี
สามัคคี
ครุ   คุรุ
คุรุ
ครู
โรค
โรค
โรค
โลก
โลก
โลก
ตารา
ตารา
ดาว
 สตฺตสตฺว สัตว์ 
 อาสยอาศย อาศัย 
สิลา ศิลา ศิลา 
 สาสนศาสน ศาสนา 
สีล ศีล ศีล 
 วิสวิษ พิษ 
 เสฏฺฐีเศฺรษฺฐี เศรษฐี